เมนู

สองบทว่า อกฺขีนิสฺส ทุกฺขานิ มีความว่า มารดาบิดาของอุบาลี
สำคัญว่า อุบาลีเมื่อเรียนตำราดูรูปภาพ จำต้องพลิกไปพลิกมาดูเหรียญกษาปณ์;
เพราะเหตุนั้น นัยน์ตาทั้ง 2 ของเขาจักชอกช้ำ. ในบทว่า ฑังสะ เป็นต้น
จำพวกแมลงสีเหลือง ชื่อว่า ฑังสะ (เหลือบ).
บทว่า ทุกฺขานํ แปลว่า ทนได้ยาก.
บทว่า ติพฺพานํ แปลว่า กล้า.
บทว่า ขรานํ แปลว่า แข็ง
บทว่า กฏุกานํ แปลว่า เผ็ดร้อน. อนึ่ง ความว่า เป็นเช่นกับ
รสเผ็ดร้อน เพราะไม่เป็นที่เจริญใจ.
บทว่า อสาตานํ แปลว่า ไม่เป็นที่ยินดี.
บทว่า ปาณหรานํ แปลว่า อาจผลาญชีวิตได้.
สองบทว่า สีมํ สมฺมนฺนติ ได้แก่ ผูกสีมาใหม่. แต่ในกุรุนที
ท่านปรับเป็นทุกกฏเเม้ไม่การกำหนดวักน้ำสาด.
บทว่า ปริปุณฺณวีสติวสฺโส ได้แก่ ผู้มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
นับแต่ถือปฏิสนธิมา.

[ว่าด้วยบุคคลผู้มีอายุหย่อนและครบ 20 ปี]


ความจริง แม้ผู้มีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ ก็ถึงการนับว่า
ผู้มีอายุครบ 20 ปีเหมือนกัน. เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสป เป็นผู้มีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์
จึงอุปสมบท ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็
เรามีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท, เราจะเป็นอุปสัมบัน
หรือไม่เป็นอุปสัมบันหนอ.

พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . จิตดวงแรกใดเกิด
แล้วในท้องของมารดา, วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว, อาศัยจิตดวงแรกวิญญาณ
ดวงแรกนั้นนั่นแหละ เป็นความบังเกิดของสัตว์นั้น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ 20 ปีทั้งอยู่ในครรภ์.
ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว คพฺภวีสํ อุปสมฺปาเทตุํ นั้น
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ผู้ใดอยู่ในท้องของมารดาถึง 12 เดือน
เกิด (คลอด) ในวันมหาปวารณา, ตั้งแต่วันมหาปวารณานั้นไปจนถึงวันมหา-
ปวารณาในปีที่ 19 พึงให้ผู้นั้นอุปสมบทในวันปาฏิบท (แรมค่ำ 1) เลยวัน
มหาปวารณานั้นไป. พึงทราบการลดลงและเพิ่มขึ้นโดยอุบายนั่น.
แต่พวกพระเถระครั้งก่อนให้สามเณรอายุ 19 ปีอุปสมบทในวันปาฏิบท
(วันแรมค่ำ 1) เลยวันเพ็ญเดือน 9 ไป.
ถามว่า การอุปสมบทนั้นมีได้ เพราะเหตุไร ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลย:- ในปีหนึ่ง มีจาตุทสีอุโบสถ (อุโบสถวัน
14 ค่ำ) 6 วัน, เพราะฉะนั้น ใน 20 ปีจะมีเดือนขาดไป 4 เดือน, เจ้าผู้
ครองบ้านเมืองจะเลื่อนกาลฝนออกไปทุก ๆ 3 ปี (เพิ่มอธิกมาสทุก ๆ 3 ปี),
ฉะนั้น ใน 18 ปี จะเพิ่มเดือนขึ้น 6 เดือน (เพิ่มอธิกมาส 6 เดือน). นำ
4 เดือนที่ขาดไปด้วยอำนาจอุโบสถออกไปจาก 6 เดือนที่เพิ่มเข้ามาใน 18 ปี
นั้น ยังคงเหลือ 2 เดือน. เอา 2 เดือนนั้นมาเพิ่มเข้า จึงเป็น 20 ปีบริบูรณ์
ด้วยประการอย่างนี้ พระเถระทั้งหลายจึงหมดความสงสัยอุปสมบทให้ (สาม
เณรอายุ 19 ปี) ในวันปาฏิบทเลยวันเพ็ญเดือน 9 ไป.

ก็ในคำว่า สามเณรมีอายุ 19 ปี เป็นต้นนี้ ท่านกล่าวคำว่ามีอายุ 19
ปี หมายเอาสามเณรผู้ซึ่งปวารณาแล้ว จักมีอายุครบ 20 ปี. เพราะฉะนั้น
ผู้ที่อยู่ในท้องมารดาถึง 12 เดือน จะเป็นผู้มีอายุครบ 21 ปี. ผู้ซึ่งอยู่ (ใน
ท้องมารดา) 7 เดือน จะเป็นผู้มีอายุ 20 ปี กับ 7 เดือน. แต่ผู้ (อยู่ใน
ท้องมารดา) 6 เดือนคลอด จะไม่รอด.
ในคำว่า อนาปตฺติ อูนวีสติวสฺสํ ปุคฺคลํ ปริปุณฺณสญฺญี นี้
มีวินิจฉัยว่า ไม่เป็นอาบัติแก่อุปัชฌายะผู้ให้อุปสมบทแม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น
บุคคลก็ไม่เป็นอันอุปสมบทเลย. แต่ถ้าบุคคลนั้น ให้ผู้อื่นอุปสมบทโดยล่วง
ไป 10 พรรษา, หากว่า เว้นบุคคลนั้นเสียคณะครบ บุคคลผู้นั้นเป็นอัน
อุปสมบทดีแล้ว. และแม้บุคคลผู้ไม่ใช่อุปสัมบันนั้น ยังไม่รู้เพียงใด ยังไม่
เป็นอันตรายต่อสวรรค์ ไม่เป็นอันตรายต่อพระนิพพานของเขาเพียงนั้น. แต่
ครั้นรู้แล้ว พึงอุปสมบทใหม่. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณ-
ณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้ แล.
อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ 5 จบ

สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง


[658] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
พ่อค้าเกวียนต่างหมู่หนึ่งประสงค์จะเดินทาง จากพระนครราชคฤห์ ไปสู่ชนบท
ทางทิศทะวันตก ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวกะพ่อค้าพวกนั้นว่า แม้อาตมาจักขอ
เดินทางไปร่วมกับพวกท่าน.
พวกพ่อค้าเกวียนต่างกล่าวว่า พวกกระผมจักหลบหนีภาษีขอรับ.
ภิกษุนั้น พูดว่า ท่านทั้งหลายจงรู้กันเองเถิด.
เจ้าพนักงานศุลกากรทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พวกพ่อค้าเกวียนต่างจัก
หลบหนีภาษี จึงคอยซุ่มอยู่ที่หนทาง ครั้นพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นจับพ่อค้า-
เกวียนต่างหมู่นั้น ริบของต้องห้ามไว้ได้แล้ว ได้กล่าวกะภิกษุพวกนั้นว่า
พระคุณเจ้ารู้อยู่ เหตุไรจึงได้เดินทางร่วมกับพ่อค้าเกวียนต่างผู้ลักซ่อนของ
ต้องห้ามเล่า เจ้าหน้าที่ไต่สวนแล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุรูปนั้นไปถึง
พระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้
มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุรู้อยู่ จึงได้
ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจรเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า
เธอรู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร
จริงหรือ.